banner image

บทเรียนวิดีโอ

มะเร็งลำไส้ใหญ่


หมวดหมู่

หมวดโรคน่ารู้

รายละเอียด

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ที่ถือเป็นหนึ่งในสามของชนิดมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุด โดยในแต่ละปีนั้นมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้นี้มากขึ้นนับร้อยคน วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกับเจ้ามะเร็งชนิดนี้ เพื่อที่จะได้ตระหนักถึงความอันตรายและหันกลับมาดูแลรักษาสุขภาพของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น

วันเวลา : 16/06/2562 12:56 | จำนวนเข้าชม : 3840 | แชร์ :
รายการบทเรียน

มะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ที่ถือเป็นหนึ่งในสามของชนิดมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุด โดยในแต่ละปีนั้นมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้นี้มากขึ้นนับร้อยคน วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกับเจ้ามะเร็งชนิดนี้ เพื่อที่จะได้ตระหนักถึงความอันตรายและหันกลับมาดูแลรักษาสุขภาพของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็ง เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่แบ่งตัวผิดปกติอย่างควบคุมไม่ได้ หรือเซลล์ที่เกิดการกลายพันธุ์ เกิดเป็นเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายลุกลามไปตามอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายผ่านทางระบบเลือดและน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก คือ การเกิดเซลล์ผิดปกติบริเวณปากมดลูก ที่อยู่ส่วนภายในสุดของช่องคลอด เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างช่องคลอดกับมดลูก และเป็นทางผ่านของเลือดประจำเดือน

ด้านสถิติที่เชื่อถือได้ในปีล่าสุดที่กล่าวถึงอัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อในทุกกลุ่มอายุ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยตายด้วยมะเร็งปากมดลูกประมาณ 600 คน ใน 1 แสนคน สูงเป็นลำดับที่ 4 เมื่อเทียบกับกลุ่มการตายด้วยโรคมะเร็ง โดยรองลงมาจากมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม และจัดอยู่ลำดับที่ 2 ของการตายด้วยมะเร็งในผู้ป่วยหญิงรองจากมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นหนึ่งในโรคอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาและปล่อยให้โรคลุกลาม เสมือนภัยเงียบสำหรับผู้หญิงที่ควรเฝ้าระวังและตรวจสุขภาพร่างกายอยู่เสมอ

ปวดศีรษะไมเกรน (MIGRAINE HEADACHE)

อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Tension type headache) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า มักเริ่มมีอาการครั้งแรกตอนช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ปวดศีรษะไมเกรนสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน (Migraine without aura) พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน

ไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine with aura) อาการเตือนที่พบบ่อย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ โดยจะเห็นแสงเป็นเส้นซิกแซกคล้ายฟันเลื่อย อาจจะมีหรือไม่มีสี หรือเห็นภาพมืดไปเป็นบางส่วน หรือมองเห็นภาพไม่ชัด หลับตาแล้วยังเห็นได้อยู่ หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว ซึ่งอาการผิดปกติของการมองเห็นจะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ อาการเตือนอื่นๆ เช่น อาการชาที่มือ-แขน หรือชารอบปาก, ไม่สามารถพูดได้ชั่วคราวหรือนึกชื่อไม่ออก, หรือมีอาการอ่อนแรงของแขน-ขาซีกหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองเกิดการกระตุ้นได้ง่ายและไวกว่าคนปกติ หลังจากสมองถูกกระตุ้นแล้ว จะเกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามผิวของสมองอย่างช้าๆ (ทำเกิดอาการการเตือนขึ้นมา) กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ทำให้การไหลเวียนของเลือดในสมองเปลี่ยนแปลงไป และยังไปกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด มีผลทำให้หลอดเลือดสมองเกิดการขยายตัวและเกิดการอักเสบขึ้น เป็นผลทำให้มีอาการปวดศีรษะในที่สุด

ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาช้า จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบรับความเจ็บปวดในสมอง ทำให้มีอาการปวดศีรษะที่รุนแรงขึ้น ความถี่ของการปวดศีรษะเพิ่มมากขึ้น, ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด, อาจพบอาการเจ็บแปล๊บๆ ที่บริเวณรอบกระบอกตาหรือหนังศีรษะได้ และพบความผิดปกติของสมองจากการตรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (พบสมองฝ่อเล็กลง และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองสีขาว)

อาการปวดศีรษะไมเกรน

ลักษณะอาการปวดศีรษะที่จำเพาะกับปวดศีรษะไมเกรน คือ จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว อาจย้ายข้างได้ แต่มักเป็นทีละข้าง ลักษณะการปวดเป็นแบบตุ้บๆ (คล้ายเส้นเลือดเต้น) ความรุนแรงของอาการปวดจะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก การทำกิจวัตรทั่วไป เช่น การเดินหรือขึ้นบันได จะทำให้อาการปวดศีรษะเป็นมากขึ้น อาการจะดีขึ้นถ้าได้พักผ่อนอยู่นิ่งๆในห้องที่มืดและเย็น ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับรักษาไม่เหมาะสม อาการปวดศีรษะจะเป็นอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง

อาการร่วมอื่นๆที่พบร่วมกับอาการปวดศีรษะ คือ อาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน มีอาการไวต่อแสง ไม่อยากเห็นแสงจ้า และไม่อยากได้ยินเสียงดัง

ในผู้ป่วยบางรายจะพบว่ามีสิ่งกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนขึ้นมา เช่น ภาวะเครียด, การอดนอน, การนอนและตื่นที่ไม่เป็นเวลา, ช่วงที่เป็นประจำเดือน, กลิ่นหรือควัน, การเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรือ ความร้อน, แสงแดด, อาหารบางชนิด (อาหารหมักดอง, ชีส, ไวน์) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรสังเกตและพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้น